ปฏิญญานครวาติกัน (Joint Statement)

ปฏิญญานครวาติกัน(Joint Statement)

Buddhist-Catholic Dialogue

Castel Gandolfo, Italy

June 22-28, 2015

โดย…พระครูสิริอรรถวิเทศ เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา

 

คณะกรรมการบิช็อปในศาสนานิกายโรมันคาทอลิกที่เกี่ยวกับการสัมพันธ์ทุกนิกายและศาสนาโลกของการประชุมบาทหลวงคาทอลิกสหรัฐอเมริกา(USCCB) โดยการร่วมมือกับกระทรวงศาสนาสัมพันธ์แห่งนครรัฐวาติกัน(PCID) ได้ประชุมกันเรื่อง Buddhist-Catholic สนทนา เรื่องความทุกข์ ความพ้นทุกข์และ ภราดรภาพ ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๓-๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘

พระสงฆ์ชาวพุทธและชาวคาทอลิก จำนวน ๔๕ ท่าน ร่วมกันสนทนาเพื่อสันติภาพและการปฏิบัติทางสังคม ซึ่งมาจากนครนิวยอร์ก ชิคาโก ลอสแองเจลิส ซานฟรานซิสโก และ วอชิงตัน ดี.ซี.  เขตปกครองของหัวหน้าของบิช็อปจาก ๕ เมืองที่สนับสนุนเรื่องสนทนาแลกเปลี่ยน ในระหว่างผู้ร่วมการสนทนาชาวคาทอลิกมีผู้แทนจากมูลนิธิคาทอลิกที่ชื่อว่า Society of St. Vincent de Paul, The Focolare Movement, Monastic Interreligious Dialogue, and the Catholic Association for Diocesan Ecumenical and Interreligious Officers ผู้นำชาวพุทธที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมมีมาจากประเทศ ศรีลังกา ไทย กัมพูชา เวียดนาม ธิเบต จีน เกาหลี ญี่ปุ่น

การสนทนาแลกเปลี่ยนครั้งนี่ได้สร้างความเข้มแข็งและความเข้าใจทั้งสองฝ่ายในเรื่อง ความทุกข์ของมนุษย์ วิธีทางพ้นทุกข์ และความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในศาสนาสัมพันธ์ซึ่งเป็นรากฐานของความเชื่อหลักพวกเราทั้งหมด วัตถุประสงค์ของพระสันตะปาปาฟรานซิสที่เรียกว่า “สนทนาโดยภราดรภาพ” คือจะร่วมมือสร้างรูปแบบใหม่ๆที่นำไปปฏิบัติได้เพื่อไปเข้าถึงผู้ที่เกิดขัดสนทุกข์ยากในหลายๆเมืองแห่งสหรัฐอเมริกา

หลังจากประชุมสนทนาในครั้งนี้  ผู้เข้าร่วมสัมมนาตกลงจะกลับมาพร้อมกันที่เมืองของพวกเขาเพื่อลงมือปฏิบัติในภารกิจที่ได้ตกลงกัน เป็นแนวทางปฏิบัติทางสังคมจากที่ร่วมสนทนากันของศาสนาสัมพันธ์ ซึ่งมีข้อตกลงร่วมกันดังนี้

  • ให้ความรู้แก่คนทั่วไปในระดับท้องถิ่นเรื่องความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
  • จัดกิจกรรมออกไปสู่กลุ่มเยาวชนในเมืองนั้นๆ
  • การร่วมมือกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในทางอาญา
  • พัฒนาทรัพยากรเพื่อคนยากจน อย่างเช่นบ้านพักอาศัยราคาประหยัด
  • ให้ความรู้และให้ทรัพยากรเพื่อจัดการกับประเด็น การอพยพเข้าเมืองให้ถูกกฎหมาย
  • การร่วมมือทางวัดและเขตศาสนาของพื้นเมืองเพื่อจัดการเรื่องปัญหาสังคมกับบริเวณใกล้เคียง
  • ในฐานะพี่น้อง ขอเป็นพยานกับพันธะของพวกเราและความร่วมมือทางสังคมประกอบด้วยชุมชนทางศาสนาและผู้อื่นในเมือง
  • การนำเสนอกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยวิธีจริยธรรมศึกษาให้กับทุกครอบครัว
  • ได้ลงชื่อร่วมกันทุกฝ่ายเพื่อนำปฏิญญานี้ไปปฏิบัติร่วมกัน

 

การประชุมสัมมนาได้ดำเนินไปตลอด ๕ วัน ซึ่งมีพิธีเปิดโดยพระคาร์ดินัล Jean Louis  Tauran ประธานฝ่ายจัดประชุมสัมมนากล่าวต้อนรับ และนำความปรารถนาดี ยินดีต้อนรับจากสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ในการจัดประชุมสนทนาแลกเปลี่ยนแนวทางในการปลดเปลื้องความทุกข์ของมวลมนุษยชาติในโลกร่วมกันระหว่างผู้นำชาวพุทธและคาธอลิกในซีกโลกตะวันตกโดยเฉพาะใน ๕ เมืองหลักของสหรัฐอเมริกา คือ มหานครนิวยอร์ก นครชิคาโก นครลอสแองเจลิส นครซานฟรานซิสโก และกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.

ในช่วงเช้าของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ คณะผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ที่ห้องรับรองพิเศษ โดยพระคาร์ดินัล Jean Louis  Tauran ได้กล่าวถวายรายงานหัวข้อการประชุมสัมมนา และแนะนำหัวหน้ากลุ่มผู้นำศาสนาพุทธ-คาธอลิกผู้เข้าสัมมนา และท่านได้กล่าวต้อนรับและให้การสัมผัสมือแสดงความยินดีต้อนรับสู่อาณาจักรที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวคาธอลิก และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาได้มอบของที่ระลึกจากประเทศของตน ซึ่งพระครูสิริอรรถวิเทศ ประธานอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. และเลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ได้มอบพระพุทธชินราช(จำลอง) เป็นสัญลักษณ์จากพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย จากนั้นได้บันทึกภาพเป็นที่ระลึก

จากนั้นคณะผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งวาติกัน ซึ่งมีวัตถุโบราณที่เกี่ยวกับศาสนาและศิลปะที่ล้ำค่าเก็บสะสมมาไว้หลายยุคหลายสมัย ที่สำคัญคือภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังผลงานของไมเคิลแองเจโลที่โด่งดังภายในวิหารและห้องประกอบพิธีกรรมสำคัญหลายยุคหลายสมัยล้วนแต่เก่าแก่ควรที่จะได้ทัศนาทั้งสิ้น

หลังจากที่ได้ชมห้องพิพิธภัณฑ์ภายในนครวาติกันแล้วคณะได้จัดเลี้ยงอาหารกลางวันพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งหมด

ภาคบ่ายได้รับเชิญเป็นคณะพิเศษเข้าชมมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่ประกอบพิธีสำคัญของโป๊ปในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิค

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ หรือ คนไทยนิยมเรียกว่า มหาวิหารนักบุญเปโตรเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในนครรัฐวาติกันสร้างทับวิหารเดิมที่ชื่อเดียวกัน โดมของมหาวิหารสูงโดดเด่นสามารถเห็นได้แต่ไกลในกรุงโรม โบสถ์นี้ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 2.3 เฮกตาร์ สามารถจุคนได้กว่า 60,000 คน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่หนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ที่ตั้งโบสถ์เชื่อกันว่าเป็นที่ฝังร่างของนักบุญซีโมนเปโตรซึ่งเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู คริสตจักรถือว่านักบุญเปโตรเป็นบิชอปองค์แรกของแอนติออก ต่อมาก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นพระสันตะปาปาองค์ แรกของโรม เพราะนิกายโรมันคาทอลิกเชื่อกันว่าร่างของนักบุญเปโตรถูกฝังไว้ที่นี่ จึงเป็นประเพณีกันต่อมาว่าพระสันตะปาปาหลายองค์ก็ฝังไว้ที่นี้ ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1506 บนโบสถ์แบบคอนสแตนติน และเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1626 แต่เดิมนั้นมหาวิหารนักบุญเปโตรมิได้เป็นสถานที่พำนักประจำตำแหน่งของพระ สันตะปาปาเช่นปัจจุบันนี้ (สถานที่ประจำตำแหน่งของสันตะปาปาเดิมอยู่ที่มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน) ถึงกระนั้นก็ยังถือกันว่าเป็นโบสถ์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะโบสถ์ตั้งอยู่ในตัวนครรัฐวาติกันเอง และมีเนื้อที่มาก การทำพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปาก็จะมาทำกันที่นี่ นอกจากนั้นก็ยังมีธรรมาสน์นักบุญเปโตร ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบัลลังก์ของนักบุญเปโตรเองเมื่อดำรงตำแหน่งเป็น สันตะปาปาที่นี่ แต่ปัจจุบันนี้เก้าอี้นี้ไม่ได้ใช้เป็นบัลลังก์บิชอปอีกแล้ว แต่ยังเก็บไว้ไต้ฐานแท่นบูชาที่ออกแบบโดยจัน โลเรนโซ แบร์นีนี

คณะผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งหมดได้รับการต้อนรับและมีไกด์กิตติมศักดิ์เป็นแม่ชีอาวุโสที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วนำชมและอธิบายประติมากรรม สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมทั้งภายในและภายนอกมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ หลังจากที่ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกแล้วเดินทางกลับไปที่พัก

การสัมมนาได้ดำเนินต่อไปอีก ๓ วันหลังจากที่ได้เข้าพบพระสันตะปาปา ฟรานซิส ซึ่งทุกๆคนมีความประทับใจในการวางตัวของท่านมาก บรรยากาศของการนำเสนอข้อมูลทั้งฝ่ายพุทธ และฝ่ายคริสต์เป็นไปด้วยความน่าสนใจในทุกๆหัวข้อ ได้รับคำถาม-คำตอบเป็นที่น่าพอใจยิ่ง และวันสุดท้ายได้มีการประกาศปฏิญญาร่วมกันดังข้อความเบื้อต้นนั้นซึ่งทุกคนมีเห็นร่วมกันที่จะกลับไปชุมชนของตนๆแล้วนำหลักการที่ได้สัมมนาไปแล้วนี้นำไปปฏิบัติต่อชุมชนของตนๆ

หลังจากจบการสัมมนาที่นครวาติกันแล้ว ผู้เขียนได้เดินทางไปยังเมือง Florence เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรมของชาวอิตาเลี่ยน โดยเฉพาะผลงานด้านศิลปะของจิตรกรเอก เช่น ลีโอนาโด ดาวิซี่ ผู้เขียนภาพโมนา ลีซ่าที่โด่งดังไปทั่วโลก เมืองนี้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน และผลงานแกะสลักหินอ่อนเอกบุรุษนามว่าเดวิท ผลงานของจิตรกรเอกไมเคิลแองเจโล ที่โด่งดังก้องโลกทั้งผลงานด้านจิตรกรรม และประติมากรรม ที่หาชมได้ยากยิ่งนอกจากต้องเดินทางมาดูของจริงที่เมืองฟลอเรนซ์แห่งนี้ นอกจากนี้มีมหาวิหารเก่าแก่อายุหลายร้อยปี เป็นที่น่าประทับใจยิ่ง

จากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมพระธรรมทูตที่วัดเทวราชเวนิส ซึ่งเป็นวัดไทยที่เมืองเวนิช เมืองแห่งสายน้ำที่มาร์โคโปโล ผู้โด่งดังได้ล่องเรือข้ามมหาสมุทรไปยังประเทศตะวันออกไกลจนถึงเมืองจีน ผู้เขียนได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพระธรรมทูต และญาติโยมได้นำชมเมืองเวนิช และล่องเรือไปยังเกาะกลางสายน้ำชื่อเมืองบูลาโน ซึ่งมีร้านอาหารคนไทยได้ถวายภัตตาหารเพล และแวะเกาะที่มีโรงงานเป่าแก้วที่มีชื่อเสียงของอิตาลี ชื่อเกาะมูลาโน และได้พาขึ้นภูเขาสูงชมบรรยากาศทั้งชนบทและในเมืองคอสตินา ขอขอบคุณพระธรรมทูตที่มีน้ำใจไว้ ณ โอกาสนี้

 

0 2 3 5 6 7 8 9 10 11 DSC03325 DSC03330 DSC03339 DSC03340 DSC03342 DSC03344 DSC03346 DSC03349 DSC03352 DSC03358 DSC03362 DSC03364 DSC03373 DSC03376 DSC03379 DSC03383 DSC03386 DSC03387 DSC03388 DSC03398 DSC03400 DSC03404 DSC03406 DSC03410 DSC03411 IMG_9348 IMG_9358 IMG_9361 IMG_9363 IMG_9364 IMG_9378 IMG_9379 IMG_9386 IMG_9393 IMG_9394 IMG_9396 IMG_9398 IMG_9400 IMG_9404 IMG_9416 IMG_9427 IMG_9434 IMG_9465 IMG_9475 IMG_9481 IMG_9488 IMG_9492 IMG_9495 IMG_9496 IMG_9499 IMG_9500 IMG_9502 IMG_9506 IMG_9516 IMG_9523 IMG_9526 IMG_9539 IMG_9540 IMG_9543 IMG_9554 IMG_9556 IMG_9557 IMG_9558 IMG_9559 IMG_9566 IMG_9567 IMG_9569 IMG_9583 IMG_9585 IMG_9590 IMG_9591 IMG_9593 IMG_9594
IMG_9788 IMG_9789 IMG_9790 IMG_9791 IMG_9792 IMG_9797

Leave a comment

Your email address will not be published.