บทบาท และหน้าที่พระธรรมทูตไทยในต่างแดน

งานพระธรรมทูต*

(Buddhist Missionary Works) 

 

จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ..ฯเปฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากโดยอาศัยความอนุเคราะห์ชาวโลก

เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล และเพื่อความสุขของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย..”

นี่คือถ้อยคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระสาวก เป็นอุดมการณ์สำคัญของพระธรรมทูตต้องรำลึกอยู่เสมอ เป็นหน้าที่ที่จะต้องนำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปประกาศให้ชาวโลกได้รู้ และได้รับประโยชน์

งานของพระธรรมทูตในต่างประเทศ

 

 1.  งานด้านการเผยแพร่

            1.1 ภาคทฤษฏี

                        -การแสดงธรรม ในโอกาสงานต่าง ๆ ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล

 -การสอน   ทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี

– การอบรม  การเข้าร่วมประชุม/ สัมมนาทางวิชาการ เพื่อให้ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาโดยตรง

                        -งานด้านผลิตสื่อในการเผยแพร่ เช่น จัดทำวารสารของวัดประจำเดือน ประจำเทศกาล   เช่น แสงธรรม (วัดไทยฯ ดี.ซี.) ธัมโมภาส (วัดธัมมาราม) ธรรมปทีป (วัดวชิรธรรมปทีป) ดวงประทีป (วัดไทย LA.) พุทธปทีป (ลอนดอน) ศรีรัตนสาร,พุทธาวาส,ดวงแก้ว (ธรรมกาย) เป็นต้น และหนังสือธรรมะ อื่น ๆ ที่เห็นสมควรเผยแพร่ ทั้งภาคภาษาไทย และอังกฤษ พิมพ์ออกเผยแพร่ในโอกาสต่าง ๆ

                        -งานผลิตสื่อบันทึกเสียงธรรมะ เช่น เทปธรรมะ,เทปไหว้พระสวดมนต์เช้า-เย็น ,เทปบทสวดอื่น ๆ รวมทั้งวีดีโอเทปธรรมะ และสารคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีไทย

                        -งานถ่ายภาพสไลด์,ถ่ายภาพนิ่ง,ถ่ายวีดีโอ เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่

                        -งานใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเผยแพร่ เช่น การใช้ อินเตอร์เน็ต การสร้างโฮมเพจ เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัด ,เผยแพร่ธรรมะทางอินเตอร์เน็ต,การใช้ไปรษณีย์อีเล็คทรอนิคส์ (E-mail) ในการติดต่อสื่อสาร โดยการถาม-ตอบ ปัญหาธรรมะ และข่าวสารข้อมูลอื่น ๆ รวมถึงการผลิตรายการวิทยุ ,โทรทัศน์ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการเผยแพร่ด้วย

1.2 ภาคปฏิบัติ

            -จัดการสอนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (Meditation Class)   แก่ผู้สนใจรายบุคคลและหมู่คณะ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

            -จัดบรรพชา-อุปสมบท ภาคฤดูร้อน ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

            -จัดอบรมธรรมะแก่เยาวชน ในโครงการ “หลักธรรมนำเยาวชน”

            -จัดให้มีการประพฤติธรรม รักษาศีล ๘ ในโอกาสพิเศษต่าง ๆ

            -จัดเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานประจำปี (Meditation Retreat) แก่ชาวไทยและต่างประเทศ

2. งานด้านการศึกษา

2.1. โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (Buddhist Sunday School) เปิดสอนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และพระพุทธศาสนาเบื้องต้น แก่กุลบุตรกุลธิดาของชาวไทย และชาวพุทธที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศ

2.2. โรงเรียนสอนภาษาไทยภาคฤดูร้อน (Summer School) โดยวัดไทยฯร่วมกับคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมการศึกษานอกโรงเรียน จัดให้มีการเรียนการสอนภาษาไทย ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น นาฏศิลป์ไทย ดนตรีไทย กีฬาไทย และการละเล่นแบบไทย แก่กุลบุตรกุลธิดาของชาวไทย ที่เกิดและเติบโตในต่างประเทศ ในช่วงปิดภาคฤดูร้อนของทุกปี

2.3. โรงเรียนแผนกธรรม-ธรรมศึกษา สอนตามหลักสูตรแม่กองธรรมสนามหลวง และสอนธรรมะในพระไตรปิฎก สำหรับกลุ่มผู้ที่สนใจเป็นพิเศษ

2.4. จัดการเรียนการสอนแก่ผู้ที่สนใจเฉพาะ (การศึกษาพิเศษ) เช่น การปรุงอาหารไทย, ทำขนมไทย , ดอกไม้ประดิษฐ์, การจัดดอกไม้, ศิลปะไทย,คอมพิวเตอร์, รวมทั้งการจัดชั้นเรียนพิเศษแก่ชาวต่างประเทศที่สนใจจะศึกษาเฉพาะเรื่อง เช่น พุทธศาสนา ,ภาษาไทย, วัฒนธรรม ประเพณีไทย เป็นต้น

2.5. บริการด้านห้องสมุด มีหนังสือให้ศึกษาค้นคว้า ทั้งภาคภาษาไทย และภาษาอังกฤษ บริการให้ยืม

            -เทปธรรมะ ต่าง ๆ บทเรียนภาษาไทย ,บทสวดมนต์

            -เทปวีดีโอ

3.    งานด้านสาธารณูปการ

3.1  งานด้านการสร้างวัด  พระธรรมทูตต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติในการสร้างวัดในต่างประเทศ เพื่อที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาในภายหลัง โดยการศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องก่อนลงมือปฏิบัติ

3.2  งานด้านการบูรณปฏิสังขรณ์วัด  เป็นหน้าที่โดยตรงของพระธรรมทูตที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ซ่อมแซมถาวรวัตถุในวัด ตลอดถึงการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้คุ้มค่า เหมาะสมกับคุณค่าแห่งความเป็นวัดไทย 

3.3   งานด้านพัฒนาวัด  เป็นหน้าที่อย่างสำคัญของพระธรรมทูตที่จะพัฒนาไปพร้อม ๆ กันทุก ๆด้าน ในส่วนที่เป็นรูปธรรม คือวัดต้องเป็นสถานที่ที่สงบร่มรื่น สะอาดสอ้านสวยงาม เป็นร่มอารามให้เป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชน ทั่วไป

4.ด้านรักษาประเพณี/พิธีกรรม

4.1 งานสำคัญทางพระพุทธศาสนา

            -วันมาฆบูชา                  -วันวิสาขบูชา                 -วันอาสาฬหบูชา                        -วันเข้าพรรษา                -วันออกพรรษา

4.2 งานวัฒนธรรมของชาติ

     -งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (วันพ่อแห่งชาติ)

    -งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ (วันแม่แห่งชาติ)

    -งานวันปิยมหาราช

4.3 งานทำบุญประเพณีประจำปี

            -งานสงกรานต์               -งานสารทไทย                -งานทอดกฐิน   

-งานลอยกระทง             -งานทำบุญปีใหม่           -ทำบุญใส่บาตรวันอาทิตย์

กิจวัตรประจำของพระสงฆ์

เวลา     05.30  น.          เจริญสมาธิภาวนา

เวลา     06.00  น.          ทำวัตรเช้า

เวลา     07.00  น.          บิณฑบาต (เฉพาะวันอาทิตย์ในพรรษา)

เวลา     07.30  น.          ฉันภัตตาหารเช้า

เวลา     08.30  น.          มีพระธรรมเทศนาทุกวันอาทิตย์ (ตลอดพรรษา)

เวลา     11.00  น.          ฉันภัตตาหารเพล

เวลา     13.00  น.          ปฏิบัติศาสนกิจตามหน้าที่

เวลา     16.00  น.          พระสงฆ์ประชุมทำอุโบสถสังฆกรรมทุกกึ่งเดือน

เวลา     18.00  น.          ทำวัตรเย็น-เจริญสมาธิภาวนา

เวลา     19.00-22.00 น.วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ รายการพระธรรมนำชีวิตมีนั่งสมาธิ เดินจงกรม-สนทนาธรรม

Leave a comment

Your email address will not be published.